Break free from compulsive eating

เลิกพฤติกรรมการทานไม่หยุดอย่างไรดี

Emotional eating คือการทานจากอารมณ์ไม่ใช่ความหิว บางคนอาจจะเคยมีประสบการณ์ในการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก แต่แล้วเมื่อคุณกลับมาทานปกติ น้ำหนักก็กลับมาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว นั้นอาจจะเป็นเพราะคุณไม่รู้ว่าร่างกายของคุณหิวเมื่อไหร่ หรือไม่รู้ว่าต้องการอะไร คุณเลยใช้อารมณ์นำการทานของตัวเอง และลงเอยกับการทานตลอดเวลา ทานจุกจิก ทานของที่ไม่มีประโยชน์ ดังนั้นการควบคุมอาหารไม่ได้เกี่ยวเนื่องเฉพาะกับการนับแคลอรี่หรือเลี่ยงทานอาหารบางอย่างเท่านั้น แต่การตระหนักถึงความต้องการทางด้านร่างกาย (physical) และอารมณ์ (emotional) รวมถึงการรู้จักเติมเต็มความสุขด้วยสิ่งอื่นๆนอกเหนือจากอาหาร ก็มีส่วนสำคัญมากในการควบคุมการทานของเราเช่นกัน

ก่อนอื่นเราจะมาทำความเข้าใจหลักการเกี่ยวกับการเลิกพฤติกรรมการทานที่ผิดปกติ

2.jpg

Principles of breaking free from compulsive eating

  1. คุณสามารถที่จะสร้างพฤติกรรมหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างยั่งยืนได้

  2. มันมีเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคุณเสมอว่าทำไมเราถึงทานอาหารเมื่อไม่ได้รู้สึกหิว

  3. พฤติกรรมการทานที่ผิดปกติเป็นอาการไม่ใช่สาเหตุของปัญหาที่แท้จริง พฤติกรรมนี้กำลังบอกอะไรกับคุณอยู่

  4. วิธีหรือรูปแบบที่เราทาน ก็คือวีธีที่เราใช้ชีวิต เพราะมันสะท้อนถึงวิธีที่เราใช้เงิน เวลา ความรัก และพลังงานด้านอื่นๆ

เมื่อเรารู้หลักการกันแล้ว มาดูไกด์ไลน์ในการทานที่จะช่วยให้คุณสามารถเลิกพฤติกรรมการทานที่ผิดปกติได้

3.jpg

Eating guidelines

  1. ทานเมื่อหิวเท่านั้น

  2. “นั่ง” ทานอาหารในสภาพแวดล้อมที่ทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลาย และควรเลี่ยงการทานอาหารเร่งรีบในรถด้วย

  3. ทานอาหารโดยปราศจากสิ่งรบกวนอย่างเช่น การฟังเพลง ดูซีรี่ อ่านหนังสือ รวมไปถึงบทสนทนาที่มีความตึงเครียด

  4. ทานในสิ่งที่ร่างกายต้องการ ไม่ใช่อารมณ์

  5. ทานจนกระทั่งคุณรู้สึกพอใจ อิ่มกำลังพอดี

  6. ทานอาหารไปด้วยความรู้สึกที่มีความสุขและอิ่มเอม และทานด้วยความตั้งใจ

นอกจากนี้ให้เราเข้าใจไว้ว่าอาหารที่เราทานจะเป็นอาหารที่ช่วยบำรุงตัวคุณเอง เพราะฉะนั้นคุณควรที่จะทานอาหารด้วยความรู้สึกที่ดีทั้งก่อนและหลังทาน และทุกๆการเปลี่ยนแปลงย่อมต้องอาศัยความพยายามอย่างมาก คุณอาจจะต้องลองผิดลองถูกจนกว่าจะพบว่าจริงๆแล้วเราต้องการอะไร ให้คุณหาสาเหตุที่แท้จริงถึงพฤติกรรมในการทานว่าคุณจะทานผิดปกติเมื่ออยู่ในสถานการณ์อะไร หากเกิดจากความเครียด คุณก็จะสามารถแก้ไขปัญหาจากความเครียดที่เป็นสาเหตุที่แท้จริงได้ ให้เราเรียนรู้จากอดีตที่ผ่านมา แต่อย่าจมปลักกับความเจ็บปวดเพราะนั้นจะทำให้คุณหมกหมุ่นกับความเจ็บปวดนั้นมากกว่าการแสวงหาความสุขนั้นเอง

Reference: IIN (Institute for Integrative Nutrition)

Pornploy Dhanashoti