Stress and Food Preferences

ความเครียดกับการทานอาหาร

คุณเคยสังเกตุไหมว่าเวลาคุณเกิดความเครียด คุณจะมีความอยากทานอาหารประเภทบางอย่างเป็นพิเศษ โดยความเครียดส่งผลกระทบอย่างมากกับความรู้สึกอยากอาหาร ส่วนมากจะทำให้เราอยากอาหารประเภท comfort foods และขนมอย่างเช่น เมนูแป้งๆ เค้ก คุ้กกี้ ไอศครีม มากกว่าการทานผัก ผลไม้ ซึ่งสิ่งที่อาหารเหล่านี้มีเหมือนกันก็คือ มีแคลอรี่ที่สูง ไขมันสูง น้ำตาลสูง และทำให้เราหยุดทานไม่ได้ (Hyper-palatable) ทำให้อยากอาหารพวกนี้เยอะขึ้นมากๆ เวลาที่เกิดความเครียด

อาหารที่มีน้ำตาลสูงเป็นแหล่งอาหารที่ร่างกายดูดซึมและนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อใช้เตรียมตัวรับมือกับอาการความเครียด Fight or Flight นั้นเอง อีกทั้งอาหารประเภท Hyper-palatable จะนำไปสู่การหลั่งสารความรู้สึกดี (dopamine) ซึ่งหากเราติดพฤติกรรมในการทานอาหารประเภทนี้บ่อยๆ เราจะยิ่งต้องการทานมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะไม่ได้ความรู้สึกเท่าเดิมทำให้ต้องทานเยอะขึ้นไปอีกและก่อให้เกิดพฤติกรรม addictive-like compulsive eating หรือการควบคุมการทานของตัวเองได้ยาก

เพราะฉะนั้นหากเรามีความเครียดที่ลดลง ย่อมช่วยเสริมความสามารถในการควบคุมความอยากอาหารของเรา และช่วยให้การลดน้ำหนักได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อเราสามารถควบคุมความเครียดได้ จะช่วยลดความอยากอาหารที่มีแคลอรี่และน้ำตาลสูงซึ่งทำให้เราสามารถเลือกอาหารที่มีประโยชน์ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งการควบคุมความเครียดได้จะช่วยรักษาสมดุลของฮอโมนที่เกี่ยวข้องกับความอยากอาหารและการควบคุมน้ำหนัก

ซึ่งกิจกรรมที่ช่วยฝึกการควบคุมสติ ควบคุมความเครียด อย่างโยคะ การนั่งสมาธิ การฝึกหายใจ สามารถช่วยลดความเครียดที่ส่งผลกับการทานอาหารของเราได้เป็นอย่างดี

ถึงแม้ว่าอาหารประเภท Hyper-palatable จะช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้นแต่ก็ได้เพียงระยะสั้นๆเท้านั้น หากเราไม่มีการฝึกการสังเกตุหาต้นเหตุความเครียดของเราเองเพื่อที่จะแก้ไขและควบคุมความเครียด ความอยากอาหารเหล่านี้อาจจะส่งผลร้ายกับร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานและโรคอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราจึงควรแก้ปัญหาที่สาเหตุ ถึงแม้ว่าอาจจะทำได้ยากกว่าการแก้ปัญหาด้วยการกิน แต่ในระยะยาวจะส่งผลที่ดีทั้งกับร่ายกายและจิตใจของเรานะคะ

source: IIN

Pornploy Dhanashoti